เมนู

ด้วยมีพิษร้ายด้วย อสรพิษที่มีพิษแล่นเร็วด้วยมีพิษร้ายด้วย แม้ฉันใด
บุคคลนี้ก็มีอุปไมย ฉันนั้น.
4. บุคคล มีพิษไม่แล่นเร็วด้วย มีพิษไม่ร้ายด้วย
เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่โกรธเนือง ๆ ทั้งความโกรธของเขานั้น
ไม่นอนเนื่องอยู่ตลอดกาลยาวนาน บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า มีพิษไม่แล่นเร็วด้วย
มีพิษไม่ร้ายด้วย อสรพิษที่มีพิษไม่แล่นเร็วด้วย มีพิษไม่ร้ายด้วย แม้ฉันใด
บุคคลนี้ก็มีอุปไมย ฉันนั้น.
บุคคลเปรียบด้วยอสรพิษ 4 จำพวกเหล่านี้ มีปรากฏอยู่ใน
โลก


อรรถกถาบุคคลผู้เปรียบด้วยอสรพิษ 4 จำพวก


พึงทราบ อสรพิษก่อน. พิษของงูใด ย่อมแล่นมาโดยเร็ว คือ แผ่
ซ่านไปโดยเร็ว แต่มีพิษไม่ร้ายทั้งไม่เบียดเบียนอยู่นาน พิษของงูนี้ ชื่อว่า
มาแล้วเร็วแต่มีพิษไม่ร้าย. ในบทที่เหลือทั้งปวง ก็มีนัยนี้เหมือนกัน และ
การจำแนกบุคคลก็มีเนื้อความอันง่ายทั้งนั้น.

[125] 1. บุคคล ไม่ใคร่ครวญ ไม่ไตร่ตรองแล้ว พูดสรร-
เสริญคนที่ไม่ควรสรรเสริญ เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ พูดสรรเสริญพวกเดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์
ผู้ปฏิบัติชั่วปฏิบัติผิด ว่าเป็นผู้ปฏิบัติดีบ้าง เป็นผู้ปฏิบัติชอบบ้าง บุคคลอย่าง
นี้ชื่อว่า ไม่ใคร่ครวญไม่ไตร่ตรองแล้ว พูดสรรเสริญคนที่ไม่ควรสรรเสริญ.

2. บุคคล ไม่ใคร่ครวญไม่ไตร่ตรองแล้ว พูดติเตียน
คนที่ควรสรรเสริญ เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ พูดติเตียนพระพุทธเจ้า พระสาวกของพระ-
พุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ว่าเป็นผู้ปฏิบัติชั่วบ้าง เป็นผู้ปฏิบัติผิดบ้าง
บุคคลอย่างนี้ชื่อว่าไม่ใคร่ครวญไม่ไตร่ตรองแล้ว พูดติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ.
3. บุคคล ไม่ใคร่ครวญ ไม่ไตร่ตรองแล้ว มีความ
เลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังความเลื่อมใสให้เกิดขึ้น ในข้อปฏิบัติชั่ว
ปฏิบัติผิด ว่าเป็นข้อปฏิบัติดีบ้าง เป็นข้อปฏิบัติชอบบ้าง บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า
ไม่ใคร่ครวญไม่ไตร่ตรองแล้ว มีความเลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส.
4. บุคคล ไม่ใคร่ครวญแล้ว ไม่ไตร่ตรองแล้ว ไม่
เลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังความไม่เลื่อมใสให้เกิดขึ้นในข้อปฏิบัติดี
ปฏิบัติชอบ ว่าเป็นข้อปฏิบัติชั่วบ้าง เป็นข้อปฏิบัติผิดบ้าง บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า
ไม่ใคร่ครวญไม่ไตร่ตรองแล้ว ไม่เลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส.

[126] 1. บุคคล ใคร่ครวญไตร่ตรองแล้ว พูดติเตียนคน
ที่ควรติเตียน เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมพูดติเตียนพวกเดียรถีย์ สาวกเดียรถีย์
ผู้ปฏิบัติชั่ว ปฏิบัติผิด ว่าเป็นผู้ปฏิบัติชั่วบ้าง ว่าเป็นผู้ปฏิบัติผิดบ้าง บุคคล
อย่างนี้ชื่อว่า ใคร่ครวญไตร่ตรองแล้ว พูดติเตียนคนที่ควรติเตียน.

2. บุคคล ใคร่ครวญไตร่ตรองแล้ว พูดสรรเสริญ
คุณของคนที่ควรสรรเสริญ เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมสรรเสริญพระพุทธเจ้า พระสาวกของ
พระพุทธเจ้าผู้ปฏิบัติดีประพฤติชอบ ว่าเป็นผู้ปฏิบัติดีบ้าง ปฏิบัติชอบบ้าง
บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า ใคร่ครวญไตร่ตรองแล้ว พูดสรรเสริญคุณของคนที่ควร
สรรเสริญ.
3. บุคคล ใคร่ครวญไตร่ตรองแล้ว ไม่เลื่อมใสใน
ฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังความไม่เลื่อมใสให้เกิดขึ้น ในข้อปฏิบัติ
ชั่ว ในข้อปฏิบัติผิด ว่าข้อปฏิบัตินี้ชั่วบ้าง ข้อปฏิบัตินี้ผิดบ้าง บุคคลอย่างนี้
ชื่อว่า ใคร่ครวญไตร่ตรองแล้ว ไม่เลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส.
4. บุคคล ใคร่ครวญไตร่ตรองแล้ว เลื่อมใสใน
ฐานะที่ควรเลื่อมใส เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังความเลื่อมใสให้เกิดขึ้น ในข้อปฏิบัติดี
ปฏิบัติชอบ ว่านี้เป็นข้อปฏิบัติดีบ้าง นี้เป็นข้อปฏิบัติชอบบ้าง บุคคลอย่างนี้
ชื่อว่า ใคร่ครวญไตร่ตรองแล้ว เลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส.

[127] 1. บุคคล พูดติเตียนคนที่ควรติเตียน จริงแท้ตามกาล
แต่ไม่พูดสรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญจริงแท้ตามกาล เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ควรสรรเสริญก็มี ควรติเตียนก็มี ในคน 2
คนนั้นผู้ใดควรติเตียน ย่อมติเตียนผู้นั้น จริงแท้ตามกาล ผู้ใดควรสรรเสริญ

ย่อมไม่พูดสรรเสริญผู้นั้น จริงแท้ตามกาล บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า พูดติเตียน
คนที่ควรติเตียนจริงแท้ตามกาล แต่ไม่พูดสรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญ จริงแท้
ตามกาล.
2. บุคคล สรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญ จริงแท้ตาม
กาล แต่ไม่พูดติเตียนคนที่ควรติเตียนจริงแท้ตามกาล เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ควรสรรเสริญก็มี ควรติเตียนก็มี ใน 2 คน
นั้น ผู้ใดควรสรรเสริญ ย่อมพูดสรรเสริญผู้นั้น จริงแท้ตามกาล ผู้ใดควร
ติเตียน ย่อมไม่พูดติเตียนผู้นั้น จริงแท้ตามกาล บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า พูด
สรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญจริงแท้ตามกาล แต่ไม่พูดติเตียนคนที่ควรติเตียน
จริงแท้ตามกาล.
3. บุคคล พูดติเตียนคนที่ควรติเตียน จริงแท้ตามกาล
และพูดสรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญจริงแท้ตามกาล เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ควรสรรเสริญก็มี ควรติเตียนก็มี ใน 2 คน
นั้น ผู้ใดควรติเตียน ย่อมพูดติเตียนผู้นั้นจริงแท้ตามกาล ผู้ใดควรสรรเสริญ
ย่อมพูดสรรเสริญบุคคลผืนนั้นจริงแท้ตามกาล เป็นผู้รู้กาลเพื่อจะแก้ปัญหานั้น
ในที่นั้น บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า พูดติเตียนคนที่ควรติเตียนจริงแท้ตามกาล และ
พูดสรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญจริงแท้ตามกาล.
4. บุคคล ไม่พูดติเตียนคนที่ควรติเตียน จริงแท้ตาม
กาล ทั้งไม่พูดสรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญจริงแท้ตามกาล เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ควรสรรเสริญก็มี ควรติเตียนก็มี ใน 2 คน
นั้น ผู้ใดควรติเตียน ย่อมไม่พูดติเตียนผู้นั้นจริงแท้ตามกาล ผู้ใดควรสรร-
เสริญ ย่อมไม่พูดสรรเสริญผู้นั้นจริงแท้ตามกาล เป็นผู้วางเฉย มีสติ มีสัมป-
ชัญญะ บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า ไม่พูดติเตียนคนที่ควรติเตียนจริงแท้ตามกาล ทั้ง
ไม่พูดสรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญจริงแท้ตามกาล.

อรรถกถาบุคคลพูดติเตียนคนที่ควรติเตียนจริงแท้


ตามกาล ฯลฯ เป็นต้น


บทว่า "อนนุวิจฺจ" ได้แก่ ไม่พิจารณา คือ ไม่สำรวจ.
บทว่า "อปริโยคาเหตฺวา" ได้แก่ ไม่ให้ถือเอาซึ่งคุณทั้งหลายด้วย
ปัญญา.
สองบทว่า "ภูตํ ตจฺฉ" ได้แก่ ที่ชื่อว่าเป็นจริง เพราะเป็นของมี
อยู่ ชื่อว่า เป็นของแท้ เพราะเป็นของไม่วิปริต.
บทว่า "กาเลน" ได้แก่ ตามกาลอันควรและเหมาะสม.
ข้อว่า "ตตฺร กาลญฺญู โหติ" ความว่า คำนี้ใด ท่านกล่าวไว้ว่า
"กาเลน" ก็บุคคลใดเป็นกาลัญญู คือเป็นผู้รู้จักกาล เพื่อประโยชน์แก่การ
พยากรณ์ปัญหานั้นว่า กาลนี้เมื่อข้าพเจ้าถูกเขาถามปัญหาไม่ควรกล่าว ในกาลนี้
ควรกล่าว" เพราะเหตุนี้ผู้นี้ จึงชื่อว่า ย่อมกล่าวตามกาล.
สองบทว่า "อุเปกฺโข วิหรติ" ได้แก่ เป็นผู้ตั้งอยู่ในอุเบกขาอัน
มีความเป็นกลาง. ในคำทุก ๆ บทที่เหลือมีเนื้อความตื้นทั้งนั้น.